วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครอบครัว


ครอบครัวของฉัน

ครอบครัวของเราอยู่กัน 5 คน มี
 1. คุณย่า
2. คุณพ่อ
3. คุณแม่
4. น้องชาย
5. ตัวเอง คือ น.ส. นภัสวรรณ ทรัพย์มูล

บ้านของเราเป็นบ้านปูน1หลัง บ้านไม่1หลัง ซึ่งหลังคาติดกัน
ดิฉันนอน บ้านย่า เพราะตอนกลางคืนต้องคอยดูแลคุณย่า เวลาฝนตก ไม่ให้คุณย่าลงมาวิดน้ำข้างล่างเพราะน้ำฝนจะสาดเข้ามาท่วมบ้าน

ส่วนพ่อ เปิดอู่ซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ ที่บ้าน บางวันก๊มีรถมาซ่อม บางวันก๊ไม่มี แล้วแต่สถานการ์ณ ของบางวัน

ส่วนแม่ ทำงานอยู่ที่ บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรมจำกัด

ส่วนน้องชาย กำลังศึกษาอยู่ที่ วิทยาลัยเทคนิคสมุทสาคร แผนก ช่างกล โรงงาน

ครอบครัวของบฉันอยู่กันแบบพอเพียง ที่บ้านทำนาเกลือ

จะทำเกลือได้ในบางช่วงเวลาที่ฝนไม่ตก
ขั้นตอนการทำนาเกลือ
การทำนาเกลือมีกรรมวิธีเป็นขั้นตอนประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้

  1. นาปลง เป็นนาขั้นตอนสุดท้าย ตากน้ำเค็มไว้ประมาณ 10-15 วัน เมื่อเริ่มตกผลึกเป็นเกลือหนาประมาณ 1 นิ้ว ก็จะเริ่ม รื้อเกลือ โดยใช้ "คฑารื้อ" แซะให้เกลือแตกออกจากกันแล้วใช้ "คฑาแถว" ชักลากเกลือมากองรวมกันเป็นแถวๆ จากนั้นใช้ "คฑาสุ้ม" โกยเกลือมารวมเป็นกองๆ เหมือนเจดีย์ทราย เพื่อให้เกลือแห้งน้ำ จากนั้นจะหาบเกลือลงเรือบรรทุกล่องไปตาม "แพรก" หรือคลองซอยเล็กๆ แล้วหาบขึ้นไปเก็บไว้ในลานเกลือหรือฉางเกลือรอการจำหน่ายต่อไป
  2.  นาเชื้อ เป็นที่สำหรับรอให้เกลือตกผลึก ใช้สำหรับเก็บน้ำทะเลเพื่อป้องกันให้นาปลง บางครั้งถ้าเกลือราคาดี อาจใช้นาเกลือทำเกลือทำเกลือเหมือนนาปลง แต่ต้องเสียเวลาและสิ้นเปลืองค่าแรงในการหาบเกลือเก็บไว้ในฉางเนื่องจากอยู่ ไกลจากลำคลอง
  3. นาตาก พื้นที่สุดท้ายที่จะที่จะได้ผลิตผลจากน้ำทะเล คือ เกลือสมุทร จะอยู่จดชายทะเล มีขนาดใหญ่มาก ตั้งระหัดเพื่อใช้วิดน้ำทะเลจากรางน้ำทะเลเข้านาตาก
ชาวนาเกลือจะเริ่มทำเกลือประมาณเดือนตุลาคม หรือพฤศจิกายน ซึ่งเป็นปลายฤดูฝนเพราะต้องอาศัยน้ำฝนช่วยในการละเลงนา ปรับระดับให้เสมอกันโดยใช้ลูกกลิ้งซึ่งทำด้วยไม้ยาวประมาณ 2 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 เซนติเมตร หนักประมาณ 100 กิโลกรัม ปัจจุบันนำเครื่องจักรเข้ามาช่วย นาปลงแต่ละกระทงจะตองกลิ้งประมาณ 4-5 วัน การไขน้ำเข้าสู่นาปลงจะไขตอนบ่าย พื้นนาจะไม่แตกระแหง น้ำที่ไขเข้าต้องสูงกว่าพื้นนาประมาณ 4-5 นิ้ว เพื่อให้เกลืกตกผลึกช้า เม็ดเกลือจะแน่นไม่โพลงทำให้เกลือมีความเค็มสูง ในการตกผลึกของเกลือ เมื่อน้ำเข้มข้น 20-22 ดีกรีโบเม่ จะได้เกลือจืด (Calcium) มีลักษณะเหมือนทรายเม็ดใหญ่ ๆ ตกจมปนกับดิน ชาวนาจะเก็บเกลือจืด เมื่อเลิกทำนาเกลือแล้ว เมื่อความเข้มข้นสูง 25-27 ดีกรีโบเม่ เป็นระยะที่เกลือเค็มตกมากที่สุด ถ้าความเข้มข้นเกิน 27 ดีกรีโบเม่ จะเกิดการตกผลึกของดีเกลือ (Magnesium) ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดความชื้น ดีเกลือจะตกผลึกในช่วงกลางคืนเมื่อน้ำในนาปลงเย็น

ภาพแรกเราจะนำเสนอ การกลิ้งนาเกลือ
 
ขั้นตอนที่2 การปล่อยน้ำเข้านาเกลือ เพิ่อให้น้ำตกเป็นเกลือ
ขั้นตอนที่3 การรื้อเกลือ ส่วนใหญ่จะใช้ผู้ชาย เพราะไม้ที่รื้อเกลือ ค่อนข้างหนักและใหญ่


ขั้นตอนที่4 การซุ่มนาเกลือ ให้เป็นกอง รูปล่างจะเหมือนภูเขา


ขั้นตอนที่5 การหาบเกลือ แต่สมัยนี้ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนเป็นการเข็นแทน เพราะว่าจะทุ่นแรงได้ค่อนข้างเยอะ



ที่ที่เราใช้ไว้เก็บเกลือ หรือที่เขาเรียกว่ายุ้งนั่นเอง





ในยุ้งจะต้องแบ่งการเก็บเกลือไว้  ซุ่งเราจะต้องมีคนคุ้ยเกลือให้เป็นชั้นๆๆขุ้นไป ตามภาพเลยค่ะ






 

แล้วสุดท้ายนี่คือภาพคนในครอบครัวของฉัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น